รายชื่อโรคและความผิดปกติจากการวิจัยของจีน ปี ค.ศ. 1991-1995

รายชื่อโรคและความผิดปกติต่าง ๆ ที่สามารถใช้การฝังเข็มรักษาได้ผล จากการวิจัยบางส่วนของจีนที่ตีพิมพ์ในช่วงปี ค.ศ. 1991-1995

ความเป็นมา .. การฝังเข็ม

         วิชาฝังเข็มมีความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ อันยาวนานนับพันปี จากหลักฐานทางโบราณคดียุคหินใหม่ ที่ขุดค้นพบเข็มที่ฝนมาจากแท่งหิน ในลักษณะ รูปร่างต่าง ๆ เช่น เข็มกลม เข็มสามเหลี่ยม และเข็ม รูปร่างคล้ายมีดสั้นนั้น ทำให้เป็นที่ยอมรับว่า การฝังเข็มมีต้นกำเนิดมาจากสังคมบุรพากาลจีนมาเป็นเวลายาวนาน ไม่ต่ำกว่า 4 พันปีมาแล้ว สันนิษฐานว่ามนุษย์ เรารู้จักนำเอาเข็มมาใช้รักษาโรค คงจะอาศัยการสังเกตว่า ในยามเจ็บป่วยนั้นเมื่อกดนวด หรือใช้วัตถุแข็ง เช่น หิน, กระดูก, กิ่งไม้ กดแทงลงบนส่วนของร่างกายที่รู้สึกเจ็บปวด หรือไม่สบาย จะทำให้อาการเจ็บป่วยนั้นทุเลาลงได้ เมื่อรู้จัก "ตำแหน่ง" หรือ "จุด" ที่กดนวด กดแทงแล้ว ทำให้อาการเจ็บป่วยทุเลาลงได้ เช่นนี้ จึงได้มีการยอมรับและถ่ายทอดต่อกันมาเป็นวิธีการรักษาโรคอย่างหนึ่ง กระทั่งภายหลังจึงมีการสร้างประดิษฐ์เครื่องมือสำหรับใช้กดแทงจุดโดยเฉพาะ ซึ่งจากการขุดพบหลุมฝังศพหลิมเซิ่ง ที่มณฑลเหอเป่ย ประเทศจีน ค้นพบหลักฐานยืนยันว่า เมื่อ 2000 ปี ก่อนนั้นได้มีการประดิษฐ์เข็มที่ทำจากเงินและทองคำนำเอามาใชัฝังรักษาโรคแล้ว

 

         การสรุปประสบการณ์ ความชัดเจนจากการใช้ฝังเข็มฝังรักษาอาการเจ็บป่วยต่าง ๆ นั้น ได้รับการสรุปเป็นระบบทฤษฎีเป็นวิชาฝังเข็ม เฉพาะออกมาเป็นเวลานานถึง 2000 ปีก่อนแล้ว ในหนังสือหวงชู ที่พบในหลุมฝังศพ หม่าหวังตุย เมืองฉางชา มณฑลหูหนาน ประเทศจีน ซ่งมีอายุนานถึง 700 ปี ก่อน ค.ศ. บันทึกว่าคนเรามี "เส้นจิงแขนขา 11 เส้น" "เส้น ยินหยาง 11 เส้น" พร้อมทั้งอธิบายถึงอาการเจ็บป่วยต่าง ๆ ร่วมถึงวิธีการรักษาด้วยการฝังเข็ม และการใชัสมุนไพรรมยาอย่างละเอียดลออแล้ว ต่อมาพบทฤษฎีเส้นลมปราณอันเป็นทฤษฎีรากฐานสำคัญของวิชาฝังเข็ม ได้รับการสรุปเป็นทฤษฎีอย่างสมบูรณ์ในหนังสือเน่ยจิง

         ภายหลังจากการสถาปนาก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในเดือนตุลาคม ปี ค.ศ.1949 เป็นต้นมา วิชาฝังเข็มได้รับการฟื้นฟู และการสนับสุนให้มีากรค้นคว้าวิจัยในแง่มุมทงวิทยาศาสตร ์และการแพทย์สมัยใหม่อย่างกว้างขวางนับจากปี ค.ศ.1949 ถึงปี ค.ศ. 1977 มีบทความวิจัยเกี่ยวกับวิชาฝังเข็มตีพิมพ์ เผยแพร่มากถึง 8000 กว่าชิ้น มีการค้นคิดเทคนิค จุดใหม่ ๆ เพิ่มเติม ตลอดจนการประดิษฐ์ เครื่องมือทางไฟฟ้า เพื่อนำเอามาประยุกต์ใช้ในการฝังเข็ม ทั้งแง่ของเครื่องมือวิจัย และเครื่องมือรักษาโรค อีกเป็นจำนวนมาก

         เดิมวิชาฝังเข็มยังไม่เป็นที่ยอมรับและแพร่หลายในประเทศสหรัฐอเมริกา ตราบกระทั่งภายหลังจากการเดินทางเยือนประเทศจีนของประธานาธิบดีนิกสัน ในปี ค.ศ. 1972 ผลสำเร็จของการฝังเข็มชาแทนยาสลบในการผ่าตัด สร้างความประหลาดใจเป็นอย่างยิ่งแก่ชาวอเมริกัน และก่อให้เกิดความตื่นตัว ในวงการแพทย์ของสหรัฐอเมริกา หลังจากนั้นเพียงไม่กี่เดือน ศูนย์ฝังเข็ม (Acupuncture Center) แห่งแรกในสหรัฐอเมริกา ก็ได้รับการก่อตั้งขึ้นที่กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. และในรัฐอื่น ๆ อีกหลายแห่งในเวลาต่อมา

         ความสนใจในวิชาฝังเข็ม ในปัจจุบันนี้เป็นที่แพร่หลายไปเกือบทั่วโลก ขณะนั้นมีอย่างน้อย 116 ประเทศ ที่มีการสอนวิชาฝังเข็ม ปี ค.ศ. 1982 คณะกรรมการองค์การอนามัยโลกประจำภาคพื้นเอเชียแพซิฟิค ได้จัดการประชุมเกี่ยวกับวิชาฝังเข็ม และได้มีการก่อตั้งสมาพันธ์วิชาฝังเข็มแห่งโลกขึ้น ณ กรุงปักกิ่ง เมื่อ ปี ค.ศ. 1987 การค้นคว้าวิจัยทั้งในแง่วิทยาศาสตร์พื้นฐานและในทางคลินิกเกี่ยวการฝังเข็มได้ดำเนินไปอย่างกว้างขวาง

 

สถานกรณ์ฝังเข็มในประเทศอังกฤษ

         วารสารวงการยา ปี พ.ศ. 2543 ประจำเดือน กรกฎาคม อ้างถึงวารสาร BMJ ว่ากระทรวงสาธารณสุขอังกฤษ สุรปเมื่อเร็ว ๆ นี้ว่า การรักษาด้วยการฝังเข็มนั้นควรได้รับการขยายการให้บริการให้กว้างขวางไปอีก ตามสถานบริการของกระทรวงและโดยเฉพาะในในแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป ควรได้รับการฝึกอบรมให้สามารถรักษาด้วยการฝังเข็มได้บ้าง และจากการวิจัยนานสองปี ของแพทยสภาอังกฤษพบว่า การรักษาด้วยการฝังเข็มเป็นที่ยอมรับแล้วว่าได้ผลดีในการรักษาอาการปวดหลัง ปวดฟัน คลื่นไส้ อาเจียน และปวดศีรษะ ไมเกรน

สถานการณ์ฝังเข็มในประเทศสหรัฐอเมริกา

         มีรายงานว่าชาวอเมริกัน ฝังเข็มปีละประมาณ 1 ล้านคน และสถาบันสุขภาพแห่งชาติ (NIH) ได้สรุปเกี่ยวกับเรื่องฝังเข็มในวารสาร JAMA ปี ค.ศ. 1998 กล่าวว่าการฝังเข็มเป็นการรักษาที่ใช้แพร่หลายในประเทศสหรัฐอเมริกา และสรุปว่าการฝังเข็มอาจจะมีประโยชน์ในบทบาทการรักษาร่วม หรือแพทย์ทางเลือกในโรคเหล่านี้ คือ ปวดศีรษะ , ปวดท้อง ประจำเดือน , อัมพาตจากหลอดเลือดสมอง, เสพติดยา, ปวดข้อ อักเสบ, ปวดกล้ามเนื้อ (myofascial pain) , โรคข้อเสื่อม, ปวดหลัง , โรคหอบ, โรคเส้นประสาทมีเดียถูกดทับบริเวณข้อมือ

การฝังเข็ม คือ ?

การฝังเข็มคือ การแทงเข็มลงไปบนจุดฝังเข็มตามร่างกาย โดยคาเข็มไว้สักครู่.. หลังจากนั้นจึงนำเข็มออก การฝังเข็มเป็นการรักษาโรค โดยใช้หลักการรักษาของแพทย์แผนจีนที่มีพัฒนาการมากกว่า 4000 ปี

การฝังเข็ม ทำได้อย่างไร ?

ในขณะที่เข็มผ่านผิวหนังจะมีอาการเจ็บอยู่บ้าง แต่ไม่มาก และเมื่อเข็มแทงเข้าไปลึกถึงตำแหน่งของจุดฝังเข็ม จะรู้สึกตื้อ ๆ บริเวณจุดฝังเข็ม..

การฝังเข็ม รักษาโรคอะไรได้บ้าง ?

การฝังเข็ม : อาการและโรคที่การฝังเข็มสามารถรักษาได้ผล จากการวิจัยแบบมีกลุ่มเปรียบเทียบ .. (control group) ตารางแสดงอาการและโรคที่การฝังเข็มสามารถรักษาได้ผล

Page 3 of 4