การฝังเข็มรักษาโรคอะไรได้บ้าง ?

แนวคิดที่ถือเป็นแก่นกลางของการแพทย์แผนโบราณจีนนั้นได้แก่ แนวคิดเกี่ยวกับ "สมดุลแห่งชีวิต" นั่นคือว่า

การที่ชีวิตของคน ๆ หนึ่งจะดำรงอยู่ได้อย่างปกติสุขนั้น จะต้องดำรงอยู่ในสภาวะที่สมดุลระหว่างร่างกายของคนผู้นั้นกับธรรมชาติสิ่งแวดล้อม และระหว่างระบบอวัยวะต่าง ๆ ภายในร่งกายของผู้นั้นได้วย หากมีปัจจัยเหตุใดเหตุหนึ่งมาทำลายความสำดุลในการดำรงชีวิตของร่างกายนั้นกับธรรมชาติสิ่งแวดล้อม มันจะนำไปสู่การเสียสมดุลของระบบอวัยวะต่าง ๆ ภายในร่างกาย และก็จะทำให้ร่างกายเกิดการเจ็บป่วยขึ้นมาได้

ในขณะเดียวกัน การเสียสมดุลของระบบอวัยวะภายในร่างกายเองก็จะยิ่งทำให้ร่างกาย ไม่สามารถปรับตัวให้สมดุลกับธรรมชาติสิ่งแวดล้อมมากขึ้น และหากไม่ได้รับการแก้ไข ชีวิตก็จะถึงจุดดับสิ้นไปในที่สุด

ตามทฤษฎีการแพทย์จีนนั้น เชื่อว่า

"............ภายในร่างกายของคนเรา จะมีเลือดและลมปราณซึ่งได้รับมาจากพ่อแม่โดยกำเนิด ไหลหมุนเวียนไปตามเส้นลมปราณต่าง ๆ ที่กระจายอยู่ทั่วทั้งร่างกาย เป็นพลังงานผลักดันใหอวัยวะต่าง ๆ สามารถเคลื่อนไหวทำงานได้ และมีการทำงานที่ประสานสอดคล้องกันเป็นอย่างดี ร่างกายจึงสามารถปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติสิ่งแวดล้อม และดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างปกติ

           เมื่อมีเหตุใดเหตุหนึ่งทำให้การไหลเวียนของเลือดลมปราณติดขัด อวัยวะต่าง ๆ ก็จะทำงานผิดปกติไป หากความผิดปกตินั้นไม่สามารถปรับแก้ไขกลับคืนมาได้ ร่างกายก็จะเกิดการเสียสมดุลกับธรรมชาติ แล้วมีอาการของโรคภัยไข้เจ็บเกิดขึ้น ......."

บรรพบุรุษชาวจีนในยุคโบราณได้ค้นพบว่า การใช้เข็มปักลงไปยังจุดบางตำแหน่งในร่างกาย สามารถกระตุ้นลมปราณให้ไหลเวียนต่อไปได้ โดยไม่ติดขัด จึงทำให้อวัยวะที่ทำงานผิดปกติไปนั้นกลับคืนสู่สภาพปกติ สามารถขจัดปัจจัยที่ก่ออันตรายแก่ร่างกายออกไป จากนั้นความเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นก็จะหายไปได้

 ตามแนวคิดของการแพทย์แผนโบราณจีนนั้น การฝังเข็มมีฤทธิ์ในการรักษาโรค 3 ประการ คือ

           1. แก้ไขการไหลเวียนของเลือดลมปราณที่ติดขัด
           2. ปรับการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายให้อยู่ในสมดุล
           3. กระตุ้นภูมิคุ้มกันในร่างกาย เพื่อกำจัดเหตุปัจจัยที่เป็นอันตรายออกไปจากร่างกาย

 

           ในช่วง 200 กว่าปีที่ผ่านมานั้น อันเป็นยุคที่อารยธรรมการแพทย์แผนตะวันตกได้แก้วหนาและแพร่หลายไปทั่วโลก แนวคิดการแพทย์แผนโบตราณดังกล่าวข้างต้นถือว่าเป็นเรื่องที่ "ไม่เป็นวิทยาศาสตร์และไร้เหตุผล" ทำให้วิชาการฝังเข็มได้รับความนิยมลดน้อยลงมาโดยตลอด

           อย่างไรก็ตามในช่วงครึ่งศตวรรณที่ผ่านมานี้ วิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ได้เจริญก้าวหน้ามากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความก้าวหน้าในทางวิทยาศาสตร์ระบบประสาท (neuroscience) และการค้นคว้าเกี่ยวกับการฝังเข็มในเชิงวิทยาศาสตร์ก็ได้ค่อย ๆ พิจสูจน์ให้เห็นแล้วว่า แนวคิดที่ชาวจีนได้เสนอเอาไว้ตั้งแต่โบราณนั้น เป็นสิ่งที่ถูกต้องโดยพื้นฐาน

           จากการศึกษาพบว่า เมื่อปักเข็มลงบนร่างกาย มันสามารถกระตุ้นทำให้หลอดเลือดบริเวณนั้นขยายตัว ทำให้การไหลเวียนของเลือดเป็นไปได้สะดวกขึ้น ภาวะเลือดคั่งของบริเวณนั้นึงลดลง ช่วยทำให้มีสารอาหารและออกซิเจนไปหล่อเลี้ยงเนื้อเยื่อบริเวณนั้นเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกัน ก็ทำให้สารของเสียที่คั่งค้างบริเวณนั้นลดน้อยลง ทำให้เนื้อเยื่อบริเวณที่มีการบาดเจ็บ ได้รับการซ่อมแซมให้กลับคืนสู่สภาพปกติได้

           ในกรณีที่มีการหดเกร็งของกล้ามเนื้อลายตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เมื่อปักเข็มลงไปลึกจนถึงชั้นกล้ามเนื้อแล้วกระตุ้นด้วยวิธีที่เหมาะสมกล้ามเนื้อที่หดเกร็งก็จะมีการคลายตัวออกมาได้ ฤทธิ์ของการฝังเข็มในข้อนี้มีประโยชน์มาก ในการรักษาอาการเจ็บปวดจากกล้ามเนื้อที่หดเกร็งอยู่เสมอ ดังเช่น ในกรณีของการปวดแขนขา ปวดต้นคอ ปวดหลัง ปวดบั้นเอว เป็นต้น

           วิธีการรักษาทางกายภาพบำบัด (Physiotherapy) หลาย ๆ อย่าง เช่น การนวด การประคบด้วยความร้อน การใช้คลื่นความถี่สูงอุลตราซาวนด์ ก็มีฤทธิ์ช่วยให้มีการไหลเวียนของเลือดดีขึ้น หรือมีการคลายตัวของกล้ามเนื้อเฉพาะบริเวณนั้นคลายกับการฝังเข็มเหมือนกัน

           แต่ว่าการฝังเข็มมีข้อที่เดินกว่าตรงที่ มันสามารถคลายกล้ามเนื้อมัดที่อยู่ลักได้ดีกว่า และสามารถปักเข็มเลือกคลายกล้ามเนื้อเฉพาะบริเวณใดบริเวณหนึ่งตามที่ต้องการก็ได้

           การฝังเข็มไม่เพียงแต่ จะช่วยทำให้หลอดเลือดบริเวณที่ปักเข็มขยายตัวเท่านั้น แต่หลอดเลือดฝอยทั่วร่างกายก็จะมีการขยายตัวอย่างเหมาะสมอีกด้วย ทำให้เนื้อเยื่อทั่วร่างกายได้รับสารอาหารและขจัดของเสียที่คั่งค้างได้ดีกว่า