ความรู้เกี่ยวกับเข็ม ?

          โครงสร้างของเข็ม เข็มประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ 5 ส่วน ดังนี้ คือ ตัวเข็มที่นิยมทำด้วยลวดแสตนเลส มีส่วนที่แหลมตรงหลาย เรียกกว่า ปลายเข็ม อีกปลายหนึ่งจะพันด้วยลวดทองแดงหรือลวดอบูมิเนียมเป็นเกลียว เรียกว่า ด้ามเข็ม ซึ่งเป็นส่วนที่ใช้นิ้วจับถือ ตรงปลายสุดของด้ามเข็มจะมีลักษณะม้วนขดเป็นวง เพื่อมิให้แทงหรือเกี่ยวถูกนิ้วมือ ในขณะใช้ เรียกว่า หางเข็ม ส่วนของเข็มที่ติดต่อระหว่างเข็ม และด้ามเข็มนั้น เรียกว่า โคนเข็ม ดังรูป

 

ภาวะแทรกซ้อนจากการฝังเข็ม

          โดยทั่วไปแล้ว การฝังเข็มมีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้นน้อยมาก แต่ถ้าผู้ฝังเข็มไม่ระมัดระวังถึงข้อห้ามต่าง ๆ ฝีมือไม่ชำนาญ ไม่เข้าใจถึงโครงสร้าง กายวิภาคของร่างกายมนุษย์ ก็สามารถจะเกิดภาวะแทรกซ้อนได้เสมอ ภาวะแทรกซ้อนที่พบได้ มีดังนี้

          1. เป็นลม

          สาเหตุเกิดจากผู้ป่วยตืนเต้นกลัวเข็ม ร่างกายอ่อนเพลีย หรือท้องว่างหิวข้า หรือเกิดจากการกระตุ้นเข็มมากไป ฉะนั้นจึงไม่ควรฝังเข็มในผู้ป่วยที่หิวข้าวท้องว่าง

          อาการแสดงในระหว่างฝังเข็ม ผู้ป่วย จะรู้สึกวิงเวียนศีรษะ ตาลาย ใจสั่น คลื่อนไส้ อาเจียน หน้าซีด เหงื่อออก แขนขาเย็น ชีพจรเต้นเบา บางรายอาจถึงกับเป็นลมหมดสติ

          2. เข็มคาติดเนื้อ

          3. เข็มงอ

          4. เข็มหัก

          5. เลือดออก

          6. ลมขังในโพรงเยื่อหุ้มปอด

 

ถ้าท่านจะมารับการฝังเข็ม ต้องเตรียมตัวอย่างไร

          ผู้ป่วยที่ต้องการมารับการฝังเข็ม ต้องเตรียมตัว ดังนี้

          1. รับประทานอาหารตามปกติตอนฝังเข็มเสมอ เพราะถ้าฝังเข็มในช่วงผู้ป่วยอ่อนเพลียหรือหิว จะมีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นลมได้ง่าย

          2. พังผ่อนนอนหลับอย่งเพียงพอ ไม่อ่อนเพลีย

          3. ไม่สวมเสื้อผ้าที่รัดแน่นจนเกินไป ควรสวมกางเกงที่หลวม สามารถรูดขึ้นได้เหนือเข่า และสวมเสื้อแขนสั้น

          4. รับทราบข้อห้าม และต้องไม่เป็นผู้ป่วยที่มีข้อห้ามในการฝังเข็ม

          5. ขณะรับการฝังเข็ม อาจมีอาการผิดปกติ เช่น มีอาการปวดมากขึ้น หน้ามือ เป็นลม ต้องรีบแจ้งให้แพทย์ทราบทันที